บทความ

การใช้เครื่องประดับของคนไทยสมัยก่อน

รูปภาพ
                                        การใช้เครื่องประดับตกแต่งร่างกายของคนไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาในจดหมายเหตุของชาวต่างชาติ เช่น ในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ได้กล่าวถึงว่า “ชาวสยามสวมแหวนที่นิ้วท้ายๆ คือ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย ของมือทั้งสอง  และสมัยนิยมอนุญาตให้สอดสวมได้มากวงเท่าที่จะมากได้ เขาอาจปลงใจซื้อแหวนเพชรก็ได้ ในราคาถึงวงละครึ่งเอกิว (เอกิวหนึ่งมีค่าเท่ากับ 3 ปอนด์) พวกผู้ชายไม่รู้จักใช้สร้อยประดับคอของตนหรือของภรรยาเลย แต่ผู้พวกผู้หญิงและเด็กๆทั้งสองเพศรู้จักการใช้ตุ้มหู ตามปรกตินั้นตุ้มหูมีรูปร่างเหมือนอย่างลูกปัวร์ ( poire  ลูกแพร์) ทำด้วยทองคำ เงิน หรือ กะไหล่ทอง เด็กหนุ่มเด็กสาวลูกผู้ดีสวมกำไลข้อมือ แต่จะสวมถึงอายุ 6 หรือ 7 ขวบเท่านั้น แล้วยังสวมกำไลที่แขนและที่ขาอีกด้วย เป็นกำไลวง (ก้านแข็ง) ทำด้วยทองคำหรือกะไหล่ทอง” นอกจากเครื่องประดับนานาชนิด ดังกล่าวแล้ว ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยังมีผู้นิยมนำเหรียญต่างๆมาใช้เป็นเครื่องประดับแต่งตัวให้เด็กอีกด้วย เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องมีพระบรมราชโองการให้ประกาศห้ามเมื่อ วันพฤหัสบดีขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งนพ

ความรักชาติ

รูปภาพ
ชื่อภาพ "รักชาติยอมสละแม้นชีวี" ขอขอบคุณ ภาพที่ชนะการประกวดในวันแห่งความรัก จากคุณชัยรัตน์  ตันติไพบูลย์วุฒิ ทุกท่านคงจะทราบกันดีว่า เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนแห่งความรัก เหตุนี้จึงอยากให้ท่านผู้อ่านได้ทบทวนเกี่ยวกับเรื่องของความรักอันยิ่งใหญ่ คือ เรื่อง “ความรักชาติ” ดังเนื้อเพลงปลุกใจเหล่าทหารรั้วของชาติตอนหนึ่งว่า “ความรักอันใด แม้รักเท่าไหน ยังไม่ยั่งยืน เช่นรักคู่รักแม้รักดังกลืน ยังอาจขมขื่นขึ้นได้ภายหลัง   แต่ความรักชาติ รักแสนพิศวาส รักสุดกำลัง ก่อเกิดมานะ ยอมสละชีวัง รักจนกระทั่งหมดเลือดเนื้อเรา...” [1] ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้นิยามคำว่า “ชาติ”      หมายถึง   ปร ะ ชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ   ศาสนา   ภาษา   ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา   ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน   หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน [2] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความหมายของคำว่าชาติ ว่า “คำว่าชาตินี้แต่เดิม แปลว่า ตระกูลฤาประเภทแห่งบุคคล... “ชาติ” ก็แปลตรงๆว่ากำเนิดเท่านั้น...ต่อมาภายหลังเราจึงมา

“ความจริงที่ปราศจากการปรองดองในชิลี: คำให้การของผู้ถูกทรมานและการดำเนินคดีกับอดีตประธานาธิบดีออกุสโต ปิโนเชต (Truth Without Reconciliation in Chile: Testimonies of the Tortured and the case Against Augusto Pinochet )”

ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร แปลและเรียบเรียง            คนไทยส่วนใหญ่รู้จักประเทศชิลีจากฝีมือในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระดับนานาชาติ เนื่องจากทีมชาติชิลีเคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายถึง 7 ครั้ง และยังเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อค.ศ. 1962 ซึ่งในปีนั้นชิลีได้ถึงอันดับที่ 3            ในด้านการเมืองนั้น การจัดการกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของรัฐบาลต่างๆในอเมริกาใต้มักจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ การจับผู้ต้องสงสัยไปทรมานให้ยอมรับสารภาพ โดยเฉพาะในอาร์เจนตินาและชิลี บทความของเทมมา แคปแลน (Temma Kaplan)แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค(The State University of New York at Stony Brook) เรื่อง “ความจริงที่ปราศจากการปรองดองในชิลี: คำให้การของผู้ถูกทรมานและการดำเนินคดีกับอดีตประธานาธิบดีออกุสโต ปิโนเชต (Truth Without Reconciliation in Chile: Testimonies of the Tortured and the case Against Augusto Pinochet )” ระบุว่า ความหวาดกลัว(fear)และความสยดสยอง(terror)มักจะถุกนำมาใช้เพื่ออธิบาย17ปีอันยาวนานในยุคเผด็จการของอดีตประธานาธิบดี นายพลปิโนเชตแห่งชิลี (1973-1990) ในช่วงดังกล่าว วิธีการทรมานถูกถูก

The Chilean Truth and Reconciliation Commission By Eric Brahn,July,2005.

ความจริงที่ประเทศชิลีกับการปรองดอง ฉัตรบงกช แปลและเรียบเรียง          หลังจากประธานาธิบดี ออกุสโต ปิโนเชต (Augusto Pinochet) ประสบกับความพ่ายแพ้จากการลงประชามติ (referencedum) อย่างไม่คาดฝันใน ปีค.ศ. 1981  (พ.ศ. 2524) ส่งผลให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ทำให้ นายพาทริชิโอ เอลวิน (Patricio Aylwin) ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี นโยบายที่แถลงต่อประชาชนของเขาในการเลือกตั้ง (election platforms) คือ การค้นหาความจริง ความยุติธรรม การพิจารณาคดีของนักโทษการเมือง (addressing political prisoners) และการชดใช้เยียวยาผลกระทบ (reparations) ทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น (Quinn 2001) ในส่วนของการตอบรับต่อแรงกดดันของสาธารณชนนั้น (Ensalaco 1994) รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการค้นหาความจริงขึ้นมาภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น หลังจากประธานาธิบดี พาทริชิโอ เอลวินก้าวขึ้นบริหารประเทศ           คณะกรรมการค้นหาความจริงนี้ ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของการแก้ปัญหาแบบรอมชอม (compromise solution) เป็นเครื่องมือในการบรรเทาความเลวร้ายจากทั้งฝ่ายนิยมซ้าย และฝ่ายนิยมขวา ที่กระทำกับประชาชนชาวชิลี (

การสร้างความปรองดองแห่งชาติ: กรณีศึกษาสาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile)

1.ที่ตั้ง ภูมิประเทศและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์             สาธารณรัฐชิลี ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นแผ่นดินแคบๆทอดเป็นแนวเส้นตรงยาวประมาณ 4,329 กิโลเมตร โดยด้านกว้างของประเทศไม่มีส่วนใดของประเทศมีพื้นที่กว้างเกิน 240 กิโลเมตร ด้านทิศตะวันออกมีเทือกเขาแอนดิสทอดยาวจากเหนือจรดใต้ ระหว่างกลางของเทือกเขากับมหาสมุทรเป็นที่ราบลุ่มแคบๆ ขึ้นไปทางเหนือพื้นที่จะค่อยๆสูงขึ้นและแห้งแล้งมากขึ้น พื้นที่ภาคกลางเป็นหุบเขายาวที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนตอนใต้เป็นป่าดึกดำบรรพ์และทะเลสาบ ทิศตะวันตกตลอดแนวฝั่งจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือจรดประเทศเปรูและโบลิเวีย ทิศตะวันออกและทิศใต้จรดอาร์เจนตินา มีพื้นที่ 756,102 ตารางกิโลเมตร (รวมทั้งเกาะอีสเตอร์และเกาะอื่นๆ)             ชาวพื้นเมืองชิลีมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่า เมื่อพระเจ้าสร้างโลกเสร็จสิ้นแล้ว ทรงพบว่าพระองค์มีสิ่งต่าง ๆ หลงเหลืออยู่อย่างละเล็กละน้อย เช่นแม่น้ำ ภูเขาไฟ ทะเลสาบเทือกเขา ทะเลทราย ฟยอร์ก ธารน้ำแข็ง ฯลฯ ครั้นจะโยนทิ้งไปก็เสียดาย จึงจับสิ่งเหล่านั้นมากองไว้ที่มุมโลก ซึ่งที่นั่นก็คือชิลี           จากหลักฐานทาง